เกี่ยวกับ
- ความเป็นมาของคณะ
- ปรัชญา
- วิสัยทัศน์
- พันธกิจ
- โครงสร้างการบริหาร
ความเป็นมาของคณะ
คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยี สารสนเทศ ได้จัดตั้งขึ้นตามโครงสร้างของมหาวิทยาลัยนครพนมตามประกาศกฏกระทรวง จัดตั้งส่วน ราชการในมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. 2550 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2550 โดยจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญา เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์และผลิตกำลังคน ด้านวิทยาการจัดการบริหารธุรกิจ และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศได้เริ่มเปิดรับสมัครนักศึกษาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2551 และทำการจัดการเรียนการสอนเป็นครั้งแรกในปีการศึกษา 2551 เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ.2551 ใน 4 สาขาวิชา คือ 1 สาขาวิชาการจัดการ 2 สาขาวิชาการบัญชี 3 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ 4 สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีคณาจารย์และบุคลากรที่มาจากการหลอมรวมจากหลายสถานศึกษาในสังกัดมหาวิทยาลัยนครพนม
ในปัจจุบันคณะวิทยาการจักการและโทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ทำการจัดการเรียนการสอนใน 6 สาขาวิชา คือ
- สาขาวิชาการจัดการ
- สาขาวิชาการบัญชี
- สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
- สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
- สาขาวิชานิเทศศาสตร์ดิจิทัล
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
ปรัชญา
มุ่งสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการสานสัมพันธ์อนุภาคลุ่มน้ำโขง เชื่อมโยงด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย บริหารฉับไวอย่างมืออาชีพ
วิสัยทัศน์
– คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม เป็นสถานบันการศึกษา ชั้นนำด้านบริหารธุรกิจ เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร เป็นที่ยอมรับในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระดับชาติและอนุภาคลุ่มน้ำโขง
– คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศมีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับเกี่ยวกับการ จัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ ที่มีคุณภาพทั้งในระดับภูมิภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ระดับชาติ และอนุภาคลุ่มน้ำโขง
– บัณทิตของคณะได้รับความพึงพอใจและการยอมรับจากผู้ใช้บัณฑิตว่าเป็นผู้ปฏิบัติงานที่มีความรู้ดี สนใจใฝ่รู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
– มีผลงานทั้งงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ทั้งในระดับชาติ/ หรือระดับนานาชาติและการบริการ วิชาการที่มุ้งเน้นการบริการองค์ความรู้เกี่ยวกับการค้าขายชายแดนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
พันธกิจ
1. ผลิตบัณฑิตที่ดีและเก่ง มีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์และตรงตามความ ต้องการของชุมชน
2. พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีสู่ชุมชนตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนถึงการพัฒนาการ แข่งขันในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
3. บริการวิชาการและวิชาชีพที่ตอบสนองความต้องการของสังคม ประเทศ และอนุภาคลุ่มน้ำโขง
4. ทำนุบำรุง ส่งเสริมและเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ในระดับชาติและอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
5. การบริหารจัดการที่ดีด้วยหลักธรรมาภิบาล